วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

การศึกษาในศตวรรษที่ 21

ศตวรรษที่  21  เป็นยุคที่ต้องเตรียมคนไปเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว รุนแรง พลิกผันและคาดไม่ถึง คนรุ่นใหม่จึงต้องมีทักษะสูง(Learning skills)ในการเรียนรู้เและปรับตัว ข้อมูลข่าวสารทุกอย่างก็ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงรอบตัวเราอีกต่อไปแล้ว แค่เพียงคลิกที่ปลายนิ้ว เราก็สามารถก้าวข้ามพรมแดนไปได้ทุกซอกทุกมุมทั่วโลก
     เราต่างต้องก้าวพ้นรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้ครูเป็นศูนย์กลาง  มาเป็นการเรียนรู้ในแบบกระบวนทัศน์ใหม่  เรียกว่า "เป็นการจัดการศึกษายุคฐานแห่งเทคโนโลยี หรือ Technology  Based  Paradigm"
คุณลักษณะของเด็กไทยในศตวรรษที่ 21  จะต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญ  3  ประการ
ประการแรก     คือ  มีทักษะที่หลากหลาย  เช่น  สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว รับผิดชอบงานได้ด้วยตนเองและรู้จักพลิกแพลง รู้จักกระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง
ประการที่สอง  คือ มองโลกให้กว้าง เพื่อหาโอกาสใหม่ๆ ที่มีอยู่มากมาย
ประการที่สาม  คือ เด็กไทยยุคใหม่ต้องมีทักษะด้านภาษา เพราะภาษาคือสื่อกลางที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารความรู้รอบโลก




     เยาวชนจึงจะต้องมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 เรียกได้ว่า
ทักษะการเรียนรู้ของคนในศตวรรษที่ 21 หรือ 3R  และ 7C ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
- หลัก 3 R
- Reading (อ่านออก)
- Writing  (เขียนได้)
- Arithmetic  (คิดเลขเป็น)

- หลัก 7 C
Critical Thinking                การคิดวิเคราะห์
Creativity                           ความคิดสร้างสรรค์
Cross-cultural understanding ทักษะความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์
Communication                   การสื่อสาร
Collaboration                      การร่วมมือ
Computing & ICT literacy  ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และไอที
Career & Learning skill       ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้


การที่จะเรียนให้เกิดทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21
1. เด็กนักเรียนจะเรียนได้ลึกซึ้งมากขึ้นเมื่อเขาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากห้องเรียนกับชีวิตประจำวัน
2. ตัวแปรที่ส่งผลต่อการเรียนรู้มากที่สุดก็คือการได้ลงมือปฏิบัติและได้ร่วมทีมเรียนรู้
3. นักเรียนจะเรียนได้ดีหากรับการสอนเรื่อง How to Learn และ What to Learn


ข้อดีของการเรียนรู้แบบพลิกกลับ
1.   ผู้เรียนสามารถที่ปรับระดับความเร็วในการเรียนรู้ให้เข้ากับความสามารถในการเรียนของแต่ละคน             เช่น ถ้าเราฟังไม่เข้าใจในส่วนไหน ก็สามารถที่จะย้อนกลับมาฟังหรือดูได้เสมอ
2.  ผู้เรียนสามารถเรียนซ้ำได้ตามความต้องการ
3.  ลดความเบื่อหน่ายในการเรียนแบบเดิมที่มีแต่การบรรยายในห้องเรียนที่ผู้สอนจะมาอธิบายหลักการ        หรือพื้นฐานเดิมๆ
4.  ในห้องเรียนผู้สอนสามารถมีเวลาทบทวน  ตอบคำถามหรือให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัด ซักถามข้อสงสัย
5.  ผู้สอนสามารถดูแลผู้เรียนอย่างใกล้ชิดเป็นรายบุคคลได้
ข้อจำกัด
1.  การสอนจะเหมาะสมบางเนื้อหาเท่านั้น
2.  ผู้สอนและผู้เรียนต้องมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีพอสมควร
3.  มีอุปกรณ์สื่อเทคโนโลยีอย่างเพียงพอ

เด็กสมัยใหม่มีลักษณะ 8 ประการ ดังนี้
          • มีอิสระที่จะเลือกสิ่งที่ตนพอใจ แสดงความเห็น และลักษณะเฉพาะของตน
          • ต้องการดัดแปลงสิ่งต่าง ๆ ให้ตรงตามความพอใจและความต้องการของตน
          • ตรวจสอบหาความจริงเบื้องหลัง
          • เป็นตัวของตัวเองและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อรวมตัวกัน เป็นองค์กร
          • ความสนุกสนานและการเล่นเป็นส่วนหนึ่งของงาน การเรียนรู้และชีวิตทางสังคม
          • การร่วมมือ และความสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของทุกกิจกรรม
          • ต้องการความเร็วในการสื่อสาร การหาข้อมูล และตอบคำถาม
          • สร้างนวัตกรรมต่อทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต

ปัจจัยสำคัญด้านการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ไว้ 5 ประการคือ
          • Authentic learning คือ การเรียนรู้จากชีวิตจริง
          • Mental model building คือ การเรียนรู้ให้เกิดกระบวนการคิด
          • Internal motivation คือ การเรียนรู้ให้ผู้เรียนดำเนินการดึงแรงดึงดูดและแรงจูงใจจากภายในมากระตุ้นตัวของผู้เรียน
          • Multiple intelligence คือ ความหลากหลายทางปัญญา เชื่อว่าแต่ละคนมีปัญญาแตกต่างกัน
          • Social learning คือ การเรียนรู้จากสังคม ได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

บทบาททางการศึกษา มี 4 ประการ ได้แก่
          1. เพื่อการทำงานและเพื่อสังคม
          2. เพื่อฝึกฝนสติปัญญาของตน
          3. เพื่อทำหน้าที่พลเมือง และ
          4. เพื่อสืบทอดจารีตและคุณค่า

ทักษะการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21
          1. ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving)
          2. ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-Cultural Understanding)
          3. ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership)
          4. ทักษะด้านอาชีพและทักษะด้านการเรียนรู้ (Careers and Learning Skills)
          5. ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy)
          6. ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (Communication, Information and Media Literacy)
          7. ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Information)
          8.  อ่านออก เขียนได้ และคิดเลขเป็น ( Reading, Writing and Arithmetics)

ทักษะที่ครูควรมีในศตวรรษที่ 21
          1. ทักษะสาระวิชาหลัก
          2. ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม
          3. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
          4. ทักษะชีวิตและอาชีพ
          5. 3R*7C ได้แก่
          - Reading อ่านออก
          - (W)Riting เขียนได้
          - (A)Rithmetics คิดเลขเป็น
          - Critical thinking & problem solving ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
          - Creativity & innovation ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
          - Cross-cultural understanding ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์
          - Collaboration, teamwork & leadership ทักษะด้านความร่วมมือการทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
          - Communications, information & media literacy ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ
          - Computing & ICT literacy ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

          - Career & learning skills ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้



พัฒนาสมองห้าด้าน
     
1. สมองด้านวิชาและวินัย
          เป็นการพัฒนาความรู้ทางด้านวิชาการเพื่อนำไปต่อยอดในอนาคต และเสริมสร้างวินัย ปลูกฝังความรับผิดชอบให้แก่เด็กรุ่นใหม่

2. สมองด้านสังเคราะห์
          เพื่อให้เด็กมีความคิดวิเคราะห์และสามารถสังเคราะห์ข้อมูลออกมาได้ เพื่อประโยชน์ในอนาคต ครูจะมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ เพื่อฝึกเด็กให้มีความคิดเป็นกระบวนทัศน์

3. สมองด้านสร้างสรรค์
          เพื่อให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ คิดออกแบบสิ่งแปลกใหม่ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลประโยชน์ที่ดีต่อตนเอง และพัฒนาประเทศชาติ

4. สมองด้านเคารพให้เกียรติ
          เพื่อให้เด็กมีความเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน โดยไม่แก่งแย่ง หรือ แบ่งแยกชนชั้น เชื้อชาติ หรือ อื่นๆ

5. สมองด้านจริยธรรม
          เพื่อให้เด็กเป็นคนดี มีความคิดว่าสิ่งใดดี สิ่งใดชั่ว และทำให้สังคมในประเทศมีความสุขและมีความพร้อมที่จะก้าวและพัฒนาต่อไปในอนาคต





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น