วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ

นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ 

(Mind Mapping กลุ่มที่1-7)

Mind Mapping ข้อมูลเกี่ยวกับนวัตกรรมและแนวคิดเทคโนโลยีทางการศึกษา

กลุ่มที่ 1 : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา



กลุ่มที่ 2 : แนวคิดนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครูในศตวรรษ 21



  กลุ่มที่ 3 : แนวคิดทฤษฎี เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้





 กลุ่มที่ 4 : เทคโนโลยีและสารสนเทศ


กลุ่มที่ 5 : การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ 
 



กลุ่มที่ 6 : แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้







 กลุ่มที่ 7 : การออกแบบ การสร้าง การนำไปใช้การประเมินและการปรับปรุงนวัตกรรม


ผลงานต่างๆในภาคเรียนนี้

เว็บไซต์


ที่อยู่เว็บ : http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5620602222/



ข่าวสารเกี่ยวกับนวัตกรรมที่โพสต์ในเพจCTT : Com Teach Tech




ที่อยู่เพจ : https://www.facebook.com/comteachtech?fref=ts

วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมทางการศึกษาและการศึกษาในศตวรรษที่ 21

ศัพท์ง่าย ( Easy Words)

Innovation = การคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีมาก่อน ให้เกิดประโยชน์และใช้ได้จริง อาจจะเป็นสิ่งที่เคยมีมาแต่ไม่ได้รับความนิยม หรือคิดต่อยอดจากนวัตเก่าๆ

 computer = คอมพิวเตอร์
solving = การแก้ปัญหา

input = การนำเข้าข้อมูล

output = สิ่งที่ถูกส่งออก หรือ ผลผลิตจากกระบวนการ

input-process-output









system = กระบวนการต่างๆ ซึ่งอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน มีความสันพันธ์กัน เชื่อมต่อทำงานร่วมกันเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย


technology = เทคโนโลยี

media = วัสดุที่ถูกบันทึกด้วยวิธีต่างๆ เช่น เสียง รูปภาพ วิดีโอ

innovation = นวัตกรรม

inspire = แรงบันดาลใจ

process = กระบวนการ

resource = ทรัพยากร

blog = รูปแบบของเว็บไซต์ที่สามรถลงข้อความเสียงหรือวีดีโอได้

data = ข้อมูลดิบ ข้อเท็จจริง ที่ยังไม่ผ่านกระบวนการ

century = ศตวรรษ

software = ชุดคำสั่งที่ใช้ควบคุมฮาร์ดแวร์

vision = วิสัยทัศน์

E-commerce = การทำธุรกิจบนระบบอินเตอร์เน็ต

information = สื่อสารสนเทศ สิ่งเป็นข้อมูลผ่านการประมวลผลแล้ว

people ware = บุคลากรทางคอมพิวเตอร์

data-information

ศัพท์ยาก ( Difficult Words)

life skills = ทักษะชีวิต

Operating System = ระบบปฏิบัติการ

 E-commerce 

inventor = นักประดิษฐ์

Hardware = อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สามารถจับต้องได้

Literacy = ความสามารถในการอ่านและเขียน

Secondary Storage = การจัดเก็บข้อมูลสำรอง

Child center = มีเด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้

multiple intelligence = พหุปัญญา

Mental model Building = การเรียนรู้ให้เกิดกระบวนการคิด

motivation = แรงจูงใจ

Integrated =แบบูรณาการ

Entrepreneurship = ผู้ประกอบการ

Authentic Learning = การเรียนรู้จากชีวิตจริง

Influence = อิทธิพล

creativity= ความคิดสร้างสรรค์

Multimedia = ประแกรมซอฟแวร์ที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการประยุกต์ต่างๆ

Interaction = การมีปฏิสัมพันธ์

materials = วัสดุ

Inquiry = สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

Education = การศึกษา

learning by doing = การเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ

Justification = เหตุผล

collaborative = การทำงานร่วมกัน

storage = การจัดเก็บ

Internet network system = ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

processing = กระบวนการณ์



วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

การศึกษาในศตวรรษที่ 21

ศตวรรษที่  21  เป็นยุคที่ต้องเตรียมคนไปเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว รุนแรง พลิกผันและคาดไม่ถึง คนรุ่นใหม่จึงต้องมีทักษะสูง(Learning skills)ในการเรียนรู้เและปรับตัว ข้อมูลข่าวสารทุกอย่างก็ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงรอบตัวเราอีกต่อไปแล้ว แค่เพียงคลิกที่ปลายนิ้ว เราก็สามารถก้าวข้ามพรมแดนไปได้ทุกซอกทุกมุมทั่วโลก
     เราต่างต้องก้าวพ้นรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้ครูเป็นศูนย์กลาง  มาเป็นการเรียนรู้ในแบบกระบวนทัศน์ใหม่  เรียกว่า "เป็นการจัดการศึกษายุคฐานแห่งเทคโนโลยี หรือ Technology  Based  Paradigm"
คุณลักษณะของเด็กไทยในศตวรรษที่ 21  จะต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญ  3  ประการ
ประการแรก     คือ  มีทักษะที่หลากหลาย  เช่น  สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว รับผิดชอบงานได้ด้วยตนเองและรู้จักพลิกแพลง รู้จักกระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง
ประการที่สอง  คือ มองโลกให้กว้าง เพื่อหาโอกาสใหม่ๆ ที่มีอยู่มากมาย
ประการที่สาม  คือ เด็กไทยยุคใหม่ต้องมีทักษะด้านภาษา เพราะภาษาคือสื่อกลางที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารความรู้รอบโลก




     เยาวชนจึงจะต้องมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 เรียกได้ว่า
ทักษะการเรียนรู้ของคนในศตวรรษที่ 21 หรือ 3R  และ 7C ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
- หลัก 3 R
- Reading (อ่านออก)
- Writing  (เขียนได้)
- Arithmetic  (คิดเลขเป็น)

- หลัก 7 C
Critical Thinking                การคิดวิเคราะห์
Creativity                           ความคิดสร้างสรรค์
Cross-cultural understanding ทักษะความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์
Communication                   การสื่อสาร
Collaboration                      การร่วมมือ
Computing & ICT literacy  ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และไอที
Career & Learning skill       ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้


การที่จะเรียนให้เกิดทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21
1. เด็กนักเรียนจะเรียนได้ลึกซึ้งมากขึ้นเมื่อเขาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากห้องเรียนกับชีวิตประจำวัน
2. ตัวแปรที่ส่งผลต่อการเรียนรู้มากที่สุดก็คือการได้ลงมือปฏิบัติและได้ร่วมทีมเรียนรู้
3. นักเรียนจะเรียนได้ดีหากรับการสอนเรื่อง How to Learn และ What to Learn


ข้อดีของการเรียนรู้แบบพลิกกลับ
1.   ผู้เรียนสามารถที่ปรับระดับความเร็วในการเรียนรู้ให้เข้ากับความสามารถในการเรียนของแต่ละคน             เช่น ถ้าเราฟังไม่เข้าใจในส่วนไหน ก็สามารถที่จะย้อนกลับมาฟังหรือดูได้เสมอ
2.  ผู้เรียนสามารถเรียนซ้ำได้ตามความต้องการ
3.  ลดความเบื่อหน่ายในการเรียนแบบเดิมที่มีแต่การบรรยายในห้องเรียนที่ผู้สอนจะมาอธิบายหลักการ        หรือพื้นฐานเดิมๆ
4.  ในห้องเรียนผู้สอนสามารถมีเวลาทบทวน  ตอบคำถามหรือให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัด ซักถามข้อสงสัย
5.  ผู้สอนสามารถดูแลผู้เรียนอย่างใกล้ชิดเป็นรายบุคคลได้
ข้อจำกัด
1.  การสอนจะเหมาะสมบางเนื้อหาเท่านั้น
2.  ผู้สอนและผู้เรียนต้องมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีพอสมควร
3.  มีอุปกรณ์สื่อเทคโนโลยีอย่างเพียงพอ

เด็กสมัยใหม่มีลักษณะ 8 ประการ ดังนี้
          • มีอิสระที่จะเลือกสิ่งที่ตนพอใจ แสดงความเห็น และลักษณะเฉพาะของตน
          • ต้องการดัดแปลงสิ่งต่าง ๆ ให้ตรงตามความพอใจและความต้องการของตน
          • ตรวจสอบหาความจริงเบื้องหลัง
          • เป็นตัวของตัวเองและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อรวมตัวกัน เป็นองค์กร
          • ความสนุกสนานและการเล่นเป็นส่วนหนึ่งของงาน การเรียนรู้และชีวิตทางสังคม
          • การร่วมมือ และความสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของทุกกิจกรรม
          • ต้องการความเร็วในการสื่อสาร การหาข้อมูล และตอบคำถาม
          • สร้างนวัตกรรมต่อทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต

ปัจจัยสำคัญด้านการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ไว้ 5 ประการคือ
          • Authentic learning คือ การเรียนรู้จากชีวิตจริง
          • Mental model building คือ การเรียนรู้ให้เกิดกระบวนการคิด
          • Internal motivation คือ การเรียนรู้ให้ผู้เรียนดำเนินการดึงแรงดึงดูดและแรงจูงใจจากภายในมากระตุ้นตัวของผู้เรียน
          • Multiple intelligence คือ ความหลากหลายทางปัญญา เชื่อว่าแต่ละคนมีปัญญาแตกต่างกัน
          • Social learning คือ การเรียนรู้จากสังคม ได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

บทบาททางการศึกษา มี 4 ประการ ได้แก่
          1. เพื่อการทำงานและเพื่อสังคม
          2. เพื่อฝึกฝนสติปัญญาของตน
          3. เพื่อทำหน้าที่พลเมือง และ
          4. เพื่อสืบทอดจารีตและคุณค่า

ทักษะการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21
          1. ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving)
          2. ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-Cultural Understanding)
          3. ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership)
          4. ทักษะด้านอาชีพและทักษะด้านการเรียนรู้ (Careers and Learning Skills)
          5. ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy)
          6. ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (Communication, Information and Media Literacy)
          7. ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Information)
          8.  อ่านออก เขียนได้ และคิดเลขเป็น ( Reading, Writing and Arithmetics)

ทักษะที่ครูควรมีในศตวรรษที่ 21
          1. ทักษะสาระวิชาหลัก
          2. ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม
          3. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
          4. ทักษะชีวิตและอาชีพ
          5. 3R*7C ได้แก่
          - Reading อ่านออก
          - (W)Riting เขียนได้
          - (A)Rithmetics คิดเลขเป็น
          - Critical thinking & problem solving ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
          - Creativity & innovation ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
          - Cross-cultural understanding ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์
          - Collaboration, teamwork & leadership ทักษะด้านความร่วมมือการทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
          - Communications, information & media literacy ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ
          - Computing & ICT literacy ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

          - Career & learning skills ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้



พัฒนาสมองห้าด้าน
     
1. สมองด้านวิชาและวินัย
          เป็นการพัฒนาความรู้ทางด้านวิชาการเพื่อนำไปต่อยอดในอนาคต และเสริมสร้างวินัย ปลูกฝังความรับผิดชอบให้แก่เด็กรุ่นใหม่

2. สมองด้านสังเคราะห์
          เพื่อให้เด็กมีความคิดวิเคราะห์และสามารถสังเคราะห์ข้อมูลออกมาได้ เพื่อประโยชน์ในอนาคต ครูจะมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ เพื่อฝึกเด็กให้มีความคิดเป็นกระบวนทัศน์

3. สมองด้านสร้างสรรค์
          เพื่อให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ คิดออกแบบสิ่งแปลกใหม่ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลประโยชน์ที่ดีต่อตนเอง และพัฒนาประเทศชาติ

4. สมองด้านเคารพให้เกียรติ
          เพื่อให้เด็กมีความเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน โดยไม่แก่งแย่ง หรือ แบ่งแยกชนชั้น เชื้อชาติ หรือ อื่นๆ

5. สมองด้านจริยธรรม
          เพื่อให้เด็กเป็นคนดี มีความคิดว่าสิ่งใดดี สิ่งใดชั่ว และทำให้สังคมในประเทศมีความสุขและมีความพร้อมที่จะก้าวและพัฒนาต่อไปในอนาคต





วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

ระบบอินเทอร์เน็ต

ระบบอินเทอร์เน็ต

คือระบบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องได้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งทำให้สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลได้ทั่วโลก
ซึ่งในปัจจุบันระบบอินเทอร์เน็ตมีการพัฒนาไปมาก และมีความสามารถมากกว่าสมัยก่อนในหลายด้าน รวมถึงมีพื้นที่บนอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีความเร็วมากขึ้น และยังสามารถเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตได้ง่ายขึ้นอีกด้วย



วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความหมาย Hardware Software Peopleware

Hardware  
อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์(ที่สามารถสัมผัสได้)หรือตัวเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง ฮาร์ดแวร์จะประกอบด้วยหน่วยต่างๆแบ่งเป็น5หน่วยตามหน้าที่ คือ 
1] หน่วยรับข้อมูล เช่น เมาส์ แป้นพิมพ์ เป็นต้น
2] หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU นั่นเอง
3] หน่วยความจำหลัก
4] หน่วยแสดงผลลัพธ์ เช่น หน้าจอ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
5] หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง



Software 

ซอฟท์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่ใช้สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานได้ตามที่เราต้องการ ซอฟท์แวร์จะใชภาษาคอมพิวเตอร์ในการเขัยนโดยมีโปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียน ซอฟท์แวร์สามารถแบ่งออกเป็น2ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1] ซอฟท์แวร์ระบบ เช่น ios, android, window เป็นต้น
2] ซอฟท์แวร์ประยุกต์ เช่น facebook, photoshop, line เป็นต้น


Peopleware

คือบุคลากรผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ ถึงแม้คอมพิวเตอร์บางชนิดอาจไม่จำเป็นต้องมัมนุษย์ในการควาบคุมใช้งาน แต่คอมพิวเตอร์ทุกตัวจะต้องถูกดูแลรักษาโดยมนุษย์แน่นอน เราจะสามารถแบ่ง peopleware ได้เป็น5ประเภท ตามลักษณะงาน คือ
1] การดำเนินงานและเครื่องอุปกรณ์ต่างๆ
2] การพัฒนาและบำรุงรักษาโปรแกรม
3] การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลผล
4] การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบทางฮาร์ดแวร์
5] การะบริหารในหน่วยประมวลผลข้อมูล




วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความหมายของคอมพิวเตอร์



คอมพิวเตอร์ [Computer] หมายถึง เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล
ใช้สําหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทาง
คณิตศาสตร์(พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒)

ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องประกอบไปด้วย peopleware (ผู้ใช้), hardware (เช่นหน้าจอ แป้นพิมพ์ ฯลฯ), solfware (เช่นระบบปฏิบัติการ โปรแกรม เป็นต้น) และจะต้องมีพื้นที่สำหรับเก็บข้อมูล สามารถประมวลผลข้อมูลได้ คำนวณข้อมูลได้ด้วย









ความหมายของ Data

Data หมายถึง ข้อเท็จจริง ข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล เมื่อ data ผ่านการประมวลผลแล้วก็จะกลายเป็น information นั่นเอง





วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการ



เทคโนโลยี [Technology] หมายถึง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่นำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

สารสนเทศ [Information] หมายถึงข้อมูลที่ถูกประมวลผลแล้ว ไม้ว่าจะเป็น ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของกราฟ แผนภาพ แผนภูมิ ตาราง หรือเว็บไซต์ต่างๆ

การสื่อสาร [Communication] หมายถึง กระบวนการส่งข้อมูล ข่าวสาร หรือสารสนเทศ ระหว่างผู้รับและผู้ส่ง เช่น โทรศัพท์ อีเมลล์ การส่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เป็นต้น