วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ

นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ 

(Mind Mapping กลุ่มที่1-7)

Mind Mapping ข้อมูลเกี่ยวกับนวัตกรรมและแนวคิดเทคโนโลยีทางการศึกษา

กลุ่มที่ 1 : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา



กลุ่มที่ 2 : แนวคิดนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครูในศตวรรษ 21



  กลุ่มที่ 3 : แนวคิดทฤษฎี เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้





 กลุ่มที่ 4 : เทคโนโลยีและสารสนเทศ


กลุ่มที่ 5 : การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ 
 



กลุ่มที่ 6 : แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้







 กลุ่มที่ 7 : การออกแบบ การสร้าง การนำไปใช้การประเมินและการปรับปรุงนวัตกรรม


ผลงานต่างๆในภาคเรียนนี้

เว็บไซต์


ที่อยู่เว็บ : http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5620602222/



ข่าวสารเกี่ยวกับนวัตกรรมที่โพสต์ในเพจCTT : Com Teach Tech




ที่อยู่เพจ : https://www.facebook.com/comteachtech?fref=ts

วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมทางการศึกษาและการศึกษาในศตวรรษที่ 21

ศัพท์ง่าย ( Easy Words)

Innovation = การคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีมาก่อน ให้เกิดประโยชน์และใช้ได้จริง อาจจะเป็นสิ่งที่เคยมีมาแต่ไม่ได้รับความนิยม หรือคิดต่อยอดจากนวัตเก่าๆ

 computer = คอมพิวเตอร์
solving = การแก้ปัญหา

input = การนำเข้าข้อมูล

output = สิ่งที่ถูกส่งออก หรือ ผลผลิตจากกระบวนการ

input-process-output









system = กระบวนการต่างๆ ซึ่งอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน มีความสันพันธ์กัน เชื่อมต่อทำงานร่วมกันเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย


technology = เทคโนโลยี

media = วัสดุที่ถูกบันทึกด้วยวิธีต่างๆ เช่น เสียง รูปภาพ วิดีโอ

innovation = นวัตกรรม

inspire = แรงบันดาลใจ

process = กระบวนการ

resource = ทรัพยากร

blog = รูปแบบของเว็บไซต์ที่สามรถลงข้อความเสียงหรือวีดีโอได้

data = ข้อมูลดิบ ข้อเท็จจริง ที่ยังไม่ผ่านกระบวนการ

century = ศตวรรษ

software = ชุดคำสั่งที่ใช้ควบคุมฮาร์ดแวร์

vision = วิสัยทัศน์

E-commerce = การทำธุรกิจบนระบบอินเตอร์เน็ต

information = สื่อสารสนเทศ สิ่งเป็นข้อมูลผ่านการประมวลผลแล้ว

people ware = บุคลากรทางคอมพิวเตอร์

data-information

ศัพท์ยาก ( Difficult Words)

life skills = ทักษะชีวิต

Operating System = ระบบปฏิบัติการ

 E-commerce 

inventor = นักประดิษฐ์

Hardware = อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สามารถจับต้องได้

Literacy = ความสามารถในการอ่านและเขียน

Secondary Storage = การจัดเก็บข้อมูลสำรอง

Child center = มีเด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้

multiple intelligence = พหุปัญญา

Mental model Building = การเรียนรู้ให้เกิดกระบวนการคิด

motivation = แรงจูงใจ

Integrated =แบบูรณาการ

Entrepreneurship = ผู้ประกอบการ

Authentic Learning = การเรียนรู้จากชีวิตจริง

Influence = อิทธิพล

creativity= ความคิดสร้างสรรค์

Multimedia = ประแกรมซอฟแวร์ที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการประยุกต์ต่างๆ

Interaction = การมีปฏิสัมพันธ์

materials = วัสดุ

Inquiry = สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

Education = การศึกษา

learning by doing = การเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ

Justification = เหตุผล

collaborative = การทำงานร่วมกัน

storage = การจัดเก็บ

Internet network system = ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

processing = กระบวนการณ์



วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

การศึกษาในศตวรรษที่ 21

ศตวรรษที่  21  เป็นยุคที่ต้องเตรียมคนไปเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว รุนแรง พลิกผันและคาดไม่ถึง คนรุ่นใหม่จึงต้องมีทักษะสูง(Learning skills)ในการเรียนรู้เและปรับตัว ข้อมูลข่าวสารทุกอย่างก็ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงรอบตัวเราอีกต่อไปแล้ว แค่เพียงคลิกที่ปลายนิ้ว เราก็สามารถก้าวข้ามพรมแดนไปได้ทุกซอกทุกมุมทั่วโลก
     เราต่างต้องก้าวพ้นรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้ครูเป็นศูนย์กลาง  มาเป็นการเรียนรู้ในแบบกระบวนทัศน์ใหม่  เรียกว่า "เป็นการจัดการศึกษายุคฐานแห่งเทคโนโลยี หรือ Technology  Based  Paradigm"
คุณลักษณะของเด็กไทยในศตวรรษที่ 21  จะต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญ  3  ประการ
ประการแรก     คือ  มีทักษะที่หลากหลาย  เช่น  สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว รับผิดชอบงานได้ด้วยตนเองและรู้จักพลิกแพลง รู้จักกระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง
ประการที่สอง  คือ มองโลกให้กว้าง เพื่อหาโอกาสใหม่ๆ ที่มีอยู่มากมาย
ประการที่สาม  คือ เด็กไทยยุคใหม่ต้องมีทักษะด้านภาษา เพราะภาษาคือสื่อกลางที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารความรู้รอบโลก




     เยาวชนจึงจะต้องมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 เรียกได้ว่า
ทักษะการเรียนรู้ของคนในศตวรรษที่ 21 หรือ 3R  และ 7C ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
- หลัก 3 R
- Reading (อ่านออก)
- Writing  (เขียนได้)
- Arithmetic  (คิดเลขเป็น)

- หลัก 7 C
Critical Thinking                การคิดวิเคราะห์
Creativity                           ความคิดสร้างสรรค์
Cross-cultural understanding ทักษะความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์
Communication                   การสื่อสาร
Collaboration                      การร่วมมือ
Computing & ICT literacy  ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และไอที
Career & Learning skill       ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้


การที่จะเรียนให้เกิดทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21
1. เด็กนักเรียนจะเรียนได้ลึกซึ้งมากขึ้นเมื่อเขาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากห้องเรียนกับชีวิตประจำวัน
2. ตัวแปรที่ส่งผลต่อการเรียนรู้มากที่สุดก็คือการได้ลงมือปฏิบัติและได้ร่วมทีมเรียนรู้
3. นักเรียนจะเรียนได้ดีหากรับการสอนเรื่อง How to Learn และ What to Learn


ข้อดีของการเรียนรู้แบบพลิกกลับ
1.   ผู้เรียนสามารถที่ปรับระดับความเร็วในการเรียนรู้ให้เข้ากับความสามารถในการเรียนของแต่ละคน             เช่น ถ้าเราฟังไม่เข้าใจในส่วนไหน ก็สามารถที่จะย้อนกลับมาฟังหรือดูได้เสมอ
2.  ผู้เรียนสามารถเรียนซ้ำได้ตามความต้องการ
3.  ลดความเบื่อหน่ายในการเรียนแบบเดิมที่มีแต่การบรรยายในห้องเรียนที่ผู้สอนจะมาอธิบายหลักการ        หรือพื้นฐานเดิมๆ
4.  ในห้องเรียนผู้สอนสามารถมีเวลาทบทวน  ตอบคำถามหรือให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัด ซักถามข้อสงสัย
5.  ผู้สอนสามารถดูแลผู้เรียนอย่างใกล้ชิดเป็นรายบุคคลได้
ข้อจำกัด
1.  การสอนจะเหมาะสมบางเนื้อหาเท่านั้น
2.  ผู้สอนและผู้เรียนต้องมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีพอสมควร
3.  มีอุปกรณ์สื่อเทคโนโลยีอย่างเพียงพอ

เด็กสมัยใหม่มีลักษณะ 8 ประการ ดังนี้
          • มีอิสระที่จะเลือกสิ่งที่ตนพอใจ แสดงความเห็น และลักษณะเฉพาะของตน
          • ต้องการดัดแปลงสิ่งต่าง ๆ ให้ตรงตามความพอใจและความต้องการของตน
          • ตรวจสอบหาความจริงเบื้องหลัง
          • เป็นตัวของตัวเองและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อรวมตัวกัน เป็นองค์กร
          • ความสนุกสนานและการเล่นเป็นส่วนหนึ่งของงาน การเรียนรู้และชีวิตทางสังคม
          • การร่วมมือ และความสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของทุกกิจกรรม
          • ต้องการความเร็วในการสื่อสาร การหาข้อมูล และตอบคำถาม
          • สร้างนวัตกรรมต่อทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต

ปัจจัยสำคัญด้านการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ไว้ 5 ประการคือ
          • Authentic learning คือ การเรียนรู้จากชีวิตจริง
          • Mental model building คือ การเรียนรู้ให้เกิดกระบวนการคิด
          • Internal motivation คือ การเรียนรู้ให้ผู้เรียนดำเนินการดึงแรงดึงดูดและแรงจูงใจจากภายในมากระตุ้นตัวของผู้เรียน
          • Multiple intelligence คือ ความหลากหลายทางปัญญา เชื่อว่าแต่ละคนมีปัญญาแตกต่างกัน
          • Social learning คือ การเรียนรู้จากสังคม ได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

บทบาททางการศึกษา มี 4 ประการ ได้แก่
          1. เพื่อการทำงานและเพื่อสังคม
          2. เพื่อฝึกฝนสติปัญญาของตน
          3. เพื่อทำหน้าที่พลเมือง และ
          4. เพื่อสืบทอดจารีตและคุณค่า

ทักษะการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21
          1. ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving)
          2. ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ (Cross-Cultural Understanding)
          3. ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership)
          4. ทักษะด้านอาชีพและทักษะด้านการเรียนรู้ (Careers and Learning Skills)
          5. ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Computing and ICT Literacy)
          6. ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (Communication, Information and Media Literacy)
          7. ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity and Information)
          8.  อ่านออก เขียนได้ และคิดเลขเป็น ( Reading, Writing and Arithmetics)

ทักษะที่ครูควรมีในศตวรรษที่ 21
          1. ทักษะสาระวิชาหลัก
          2. ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม
          3. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
          4. ทักษะชีวิตและอาชีพ
          5. 3R*7C ได้แก่
          - Reading อ่านออก
          - (W)Riting เขียนได้
          - (A)Rithmetics คิดเลขเป็น
          - Critical thinking & problem solving ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
          - Creativity & innovation ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
          - Cross-cultural understanding ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์
          - Collaboration, teamwork & leadership ทักษะด้านความร่วมมือการทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
          - Communications, information & media literacy ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ
          - Computing & ICT literacy ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

          - Career & learning skills ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้



พัฒนาสมองห้าด้าน
     
1. สมองด้านวิชาและวินัย
          เป็นการพัฒนาความรู้ทางด้านวิชาการเพื่อนำไปต่อยอดในอนาคต และเสริมสร้างวินัย ปลูกฝังความรับผิดชอบให้แก่เด็กรุ่นใหม่

2. สมองด้านสังเคราะห์
          เพื่อให้เด็กมีความคิดวิเคราะห์และสามารถสังเคราะห์ข้อมูลออกมาได้ เพื่อประโยชน์ในอนาคต ครูจะมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ เพื่อฝึกเด็กให้มีความคิดเป็นกระบวนทัศน์

3. สมองด้านสร้างสรรค์
          เพื่อให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ คิดออกแบบสิ่งแปลกใหม่ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลประโยชน์ที่ดีต่อตนเอง และพัฒนาประเทศชาติ

4. สมองด้านเคารพให้เกียรติ
          เพื่อให้เด็กมีความเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน โดยไม่แก่งแย่ง หรือ แบ่งแยกชนชั้น เชื้อชาติ หรือ อื่นๆ

5. สมองด้านจริยธรรม
          เพื่อให้เด็กเป็นคนดี มีความคิดว่าสิ่งใดดี สิ่งใดชั่ว และทำให้สังคมในประเทศมีความสุขและมีความพร้อมที่จะก้าวและพัฒนาต่อไปในอนาคต





วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

ระบบอินเทอร์เน็ต

ระบบอินเทอร์เน็ต

คือระบบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องได้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งทำให้สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลได้ทั่วโลก
ซึ่งในปัจจุบันระบบอินเทอร์เน็ตมีการพัฒนาไปมาก และมีความสามารถมากกว่าสมัยก่อนในหลายด้าน รวมถึงมีพื้นที่บนอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีความเร็วมากขึ้น และยังสามารถเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตได้ง่ายขึ้นอีกด้วย



วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความหมาย Hardware Software Peopleware

Hardware  
อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์(ที่สามารถสัมผัสได้)หรือตัวเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง ฮาร์ดแวร์จะประกอบด้วยหน่วยต่างๆแบ่งเป็น5หน่วยตามหน้าที่ คือ 
1] หน่วยรับข้อมูล เช่น เมาส์ แป้นพิมพ์ เป็นต้น
2] หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU นั่นเอง
3] หน่วยความจำหลัก
4] หน่วยแสดงผลลัพธ์ เช่น หน้าจอ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
5] หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง



Software 

ซอฟท์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่ใช้สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานได้ตามที่เราต้องการ ซอฟท์แวร์จะใชภาษาคอมพิวเตอร์ในการเขัยนโดยมีโปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียน ซอฟท์แวร์สามารถแบ่งออกเป็น2ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1] ซอฟท์แวร์ระบบ เช่น ios, android, window เป็นต้น
2] ซอฟท์แวร์ประยุกต์ เช่น facebook, photoshop, line เป็นต้น


Peopleware

คือบุคลากรผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ ถึงแม้คอมพิวเตอร์บางชนิดอาจไม่จำเป็นต้องมัมนุษย์ในการควาบคุมใช้งาน แต่คอมพิวเตอร์ทุกตัวจะต้องถูกดูแลรักษาโดยมนุษย์แน่นอน เราจะสามารถแบ่ง peopleware ได้เป็น5ประเภท ตามลักษณะงาน คือ
1] การดำเนินงานและเครื่องอุปกรณ์ต่างๆ
2] การพัฒนาและบำรุงรักษาโปรแกรม
3] การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลผล
4] การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบทางฮาร์ดแวร์
5] การะบริหารในหน่วยประมวลผลข้อมูล




วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความหมายของคอมพิวเตอร์



คอมพิวเตอร์ [Computer] หมายถึง เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล
ใช้สําหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทาง
คณิตศาสตร์(พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒)

ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องประกอบไปด้วย peopleware (ผู้ใช้), hardware (เช่นหน้าจอ แป้นพิมพ์ ฯลฯ), solfware (เช่นระบบปฏิบัติการ โปรแกรม เป็นต้น) และจะต้องมีพื้นที่สำหรับเก็บข้อมูล สามารถประมวลผลข้อมูลได้ คำนวณข้อมูลได้ด้วย